อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

น้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ (apple cider vinegar) หรือน้ำส้มสายชูหมัก (vinegar)

ชื่อสมุนไพร

น้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ (apple cider vinegar) หรือน้ำส้มสายชูหมัก (vinegar)

ชื่อวิทยาศาสตร์

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • งานวิจัย 4 การศึกษาในคนอายุ 44-51 ปี ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน อ้วน ไขมันในเลือดสูงหรือเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีไขมันในเลือดสูง จำนวน 298 คน ดื่มน้ำส้มสายชูหมักหรือน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ ขนาด 30 มล.ต่อวัน เป็นเวลา 7-12 สัปดาห์ พบว่า อาจช่วยลดความดันค่าบน (SBP) และค่าล่าง (DBP) ได้ประมาณ 3 มิลลิเมตรปรอท

           *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับการดูแลสุขภาพ ไม่ใช้สำหรับลดความดันโลหิต เพราะงานวิจัยนี้ไม่ได้ทำการศึกษาในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง

  • งานวิจัย 6 การศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 317 คน  ดื่มไซเดอร์ทำจากแอปเปิ้ล โสม หรือ น้ำส้มสายชูหมัก ขนาด 15-30 มล.ต่อวัน เป็นเวลา 4-10 สัปดาห์ พบว่า อาจลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เล็กน้อย (ประมาณ 1 มก.ต่อเดซิลิตร) และอาจลดน้ำตาลสะสม ประมาณ 1%

           *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน ห้ามหยุดยารักษาโรคเบาหวาน

            ห้ามใช้แทนยารักษาโรคเบาหวาน เนื่องจากผลการลดระดับน้ำตาลในเลือดน้อย

  • งานวิจัย 9 การศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หรือผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน หรือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีไขมันในเลือดสูง จำนวน 686 คน ดื่มน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ ขนาด 15-30 มล.ต่อวัน เป็นเวลา 1-3 เดือน พบว่า ลดคอเลสเตอรอลได้ประมาณ 6 มก./เดซิลิตร แต่ไม่ลดไตรกลีเซอไรด์ ไม่ลดระดับไขมันไม่ดี (LDL) และไม่เพิ่มไขมันดี (HDL)

           *น้อยถึงปานกลาง, ยังไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 11 การศึกษาในคนสุขภาพดี หรือเบาหวานชนิดที่ 2 หรือมีน้ำหนักตัวเกิน หรือไขมันในเลือดสูง จำนวน 765 คน ดื่มน้ำส้มสายชูหมักจากผลไม้ต่าง ๆ ขนาด 15-30 มล.ต่อวัน เป็นเวลา 4-12 สัปดาห์ พบว่า ลดน้ำหนักตัว (0.73 กก.) และดัชนีมวลกายได้เล็กน้อย (0.39 kg/m2) แต่ไม่ลดเส้นรอบเอวและไขมันในร่างกาย (fat mass)

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Johnston CS, Gaas CA. Vinegar: medicinal uses and antiglycemic effect. MedGenMed. 2006;8(2):61.
  2. Santos HO, de Moraes W, da Silva GAR, Prestes J, Schoenfeld BJ. Vinegar (acetic acid) intake on glucose metabolism: A narrative review. Clin Nutr ESPEN. 2019;32:1-7.
  3. Monash University Low FODMAP DietTM
  4. Shahinfar H, Amini MR, Payandeh N, Torabynasab K, Pourreza S, Jazayeri S. Dose-dependent effect of vinegar on blood pressure: A GRADE-assessed systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Complement Ther Med. 2022;71:102887.
  5. Cheng LJ, Jiang Y, Wu VX, Wang W. A systematic review and meta-analysis: Vinegar consumption on glycaemic control in adults with type 2 diabetes mellitus. J Adv Nurs. 2020;76(2):459-74.
  6. Hadi A, Pourmasoumi M, Najafgholizadeh A, Clark CCT, Esmaillzadeh A. The effect of apple cider vinegar on lipid profiles and glycemic parameters: a systematic review and meta-analysis of randomized clinical trials. BMC Complement Med Ther. 2021;21(1):179.
  7. Sohouli MH, Kutbi E, Al Masri MK, Dadhkhah H, Fatahi S, Santos HO, et al. Effects of vinegar consumption on cardiometabolic risk factors: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Eur J Integr Med. 2022;55:102176.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 449482