อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

ชาเขียว

ชื่อสมุนไพร

ชาเขียว

ชื่อวิทยาศาสตร์

Camellia sinensis

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • งานวิจัย 24 การศึกษา ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงและ/หรือน้ำหนักตัวเกิน จำนวน 1,697 คน พบว่า ชาเขียวลดความดันโลหิตได้ประมาณ 1 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งลดได้น้อยมาก

           *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน  ห้ามใช้แทนยาลดความดันโลหิต

  • สารสกัดชาเขียวสำหรับลดน้ำหนักตัว จากงานวิจัย 6 การศึกษาในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินที่ยังไม่เป็นโรคเบาหวาน พบว่า กลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับชาเขียวให้ผลลดน้ำหนักตัวไม่แตกต่างกัน

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ชาเขียวสำหรับป้องกันโรคมะเร็ง จากงานวิจัย 11 การศึกษา พบว่า ยังไม่สามารถสรุปได้ เพราะมีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ชาเขียวสำหรับลดระดับไขมันในเลือด จากงานวิจัย  31 การศึกษา ในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน จำนวน 3,321 คน เมื่อดื่มสารสกัดชาเขียวหรือสารสกัดชาเขียวรูปแบบแคปซูล ขนาด 170-1,200 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ถึง 1 ปี พบว่า ลดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันไม่ดี (LDL) ได้ประมาณ 4-5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่ไม่มีผลเพิ่มไขมันดี (HDL)

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันว่าสามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้

           *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

  • จากงานวิจัย 6 การศึกษา ในผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน (pre-diabetes) หรือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า ผู้ที่ใช้หรือไม่ใช้ชาเขียวหรือสารสกัดชาเขียว ให้ผลลดระดับน้ำตาลในเลือดไม่แตกต่างกัน

           *สูง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในผู้ที่มีไขมันพอกตับที่น่าเชื่อถือยืนยันผลว่าช่วยรักษาโรคไขมันพอกตับได้

           *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ชาเขียวสำหรับป้องกันไข้หวัดใหญ่ มีงานวิจัยในเด็กนักเรียนและผู้ใหญ่ ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างไม่มาก จำนวน 5 การศึกษา พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในบุคลากรทางการแพทย์ที่ญี่ปุ่น จำนวน 2640 คน พบว่าคนที่ดื่มชาเขียวหรือไม่ดื่มมีโอกาสติดโควิดพอ ๆ กัน

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้ป้องกันโควิด

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Xu R, Yang K, Ding J, Chen G. Effect of green tea supplementation on blood pressure: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Medicine (Baltimore). 2020;99(6):e19047.
  2. Lee W, Lee D, Han E, Choi J. Intake of green tea products and obesity in nondiabetic overweight and obese females: A systematic review and meta-analysis. J Funct Foods. 2019;58:330-7.
  3. Filippini T, Malavolti M, Borrelli F, Izzo AA, Fairweather-Tait SJ, Horneber M, et al. Green tea (Camellia sinensis) for the prevention of cancer. Cochrane Database Syst Rev. 2020;3(3):CD005004.
  4. Xu R, Yang K, Li S, Dai M, Chen G. Effect of green tea consumption on blood lipids: a systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Nutr J. 2020;19(1):48.
  5. Yu J, Song P, Perry R, Penfold C, Cooper AR. The effectiveness of green tea or green tea extract on insulin resistance and glycemic control in type 2 diabetes mellitus: A meta-analysis. Diabetes Metab J. 2017;41(4):251-62.
  6. Jimenez-Saenz M, Martinez-Sanchez MdC. Camellia sinensis liver toxicity. J Hepatol. 2007;47:295-302.
  7. Dekant W, Fujii K, Shibata E, Morita O, Shimotoyodome A. Safety assessment of green tea based beverages and dried green tea extracts as nutritional supplements. Toxicol Lett. 2017;277:104-8.
  8. Taylor JR, Wilt VM. Probable antagonism of warfarin by green tea. Ann Pharmacother. 1999;33(4):426-8.
  9. Werba JP, Misaka S, Giroli MG, Shimomura K, Amato M, Simonelli N, et al. Update of green tea interactions with cardiovascular drugs and putative mechanisms. J Food Drug Anal. 2018;26(2S):S72-S7.
  10. Furushima D, Ide K, Yamada H. Effect of tea catechins on influenza infection and the common cold with a focus on epidemiological/clinical studies. Molecules. 2018;23(7):1795.
  11. Nanri A, Yamamoto S, Konishi M, Ohmagari N, Mizoue T. Green tea consumption and SARS-CoV-2 infection among staff of a referral hospital in Japan. Clinical Nutrition Open Science. 2022;42:1-5.
  12. Hoofnagle JH, Bonkovsky HL, Phillips EJ, Li YJ, Ahmad J, Barnhart H, et al. HLA-B*35:01 and green tea-induced liver injury. Hepatology. 2021;73(6):2484-93.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 449480