อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

มะรุม

ชื่อสมุนไพร

มะรุม

ชื่อวิทยาศาสตร์

Moringa oleifera Lam.

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • มีสารอาหาร ดังนี้ โปรตีน 2.5%, ไขมัน 0.1%, คาร์โบไฮเดรต 3.7%, วิตามินซี (120 มก./100 กรัม), ฟอสเฟต (110 มก./100 กรัม) วิตามินและเกลือแร่อื่น ๆ เล็กน้อย ได้แก่ วิตามินบี แคลเซียม และธาตุเหล็ก
  • ใบมะรุม มีสารอาหาร ดังนี้ โปรตีน 6.7%, ไขมัน 1.7%, คาร์โบไฮเดรต 12.5%, วิตามินซี (220 มก./100 กรัม), แคลเซียม (440 มก./100 กรัม), ฟอสเฟต (70 มก./100 กรัม) มีวิตามินบีและธาตุเหล็กเล็กน้อย
  • เป็นส่วนประกอบในตำรับยามหาไชยวาตะ สำหรับบรรเทาอาการจุกเสียด

           *ข้อมูลจากตำรายาแผนไทย, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

  • งานวิจัยในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัย จำนวน 32 คน รับประทานแคปซูลผงใบมะรุม ขนาด 8 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 1 เดือน พบว่า มะรุมไม่มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดและไม่ลดน้ำตาลสะสม (HbA1C)

            *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 5 การศึกษาในหญิงให้นมบุตร จำนวน 366 คน พบว่า มะรุมแคปซูลช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนม

            *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงหรือโรคไขมันในเลือดสูงยืนยันว่าช่วยลดความดันโลหิตหรือไขมันได้

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในผู้ป่วยโควิดยืนยันผลว่ามะรุมช่วยรักษาหรือป้องกันโควิดได้

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Mbikay M. Therapeutic potential of Moringa oleifera leaves in chronic hyperglycemia and dyslipidemia: A review. Front Pharmacol. 2012;3:24.
  2. King J, Raguindin PF, Dans L. Moringa oleifera (Malunggay) as a galactagogue for breastfeeding mothers: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Philipp J Pediatr. 2013;61:34-42.
  3. Oyagbemi AA, Omobowale TO, Azeez IO, Abiola JO, Adedokun RA, Nottidge HO. Toxicological evaluations of methanolic extract of Moringa oleifera leaves in liver and kidney of male Wistar rats. J Basic Clin Physiol Pharmacol. 2013;24(4):307-12.  
  4. Falowo AB, Mukumbo FE, Idamokoro EM, Lorenzo JM, Afolayan AJ, Muchenje V. Multi-functional application of Moringa oleifera Lam. in nutrition and animal food products: A review. Food Res Int. 2018;106:317-34.
  5. Roy SK, Chakrabarti AK. VEGETABLES OF TROPICAL CLIMATES | Commercial and Dietary Importance. In: Caballero B, editor. Encyclopedia of Food Sciences and Nutrition (Second Edition). Oxford: Academic Press; 2003. p. 5956-61.
  6. Taweerutchana R, Lumlerdkij N, Vannasaeng S, Akarasereenont P, Sriwijitkamol A. Effect of Moringa oleifera leaf capsules on glycemic control in therapy-naïve type 2 diabetes patients: A randomized placebo controlled study. Evid -based Complement Altern. 2017;2017:6581390.
  7. Ebhohon E, Miller D. Moringa Oleifera leaf extract induced pulmonary embolism-a case report. Int J Emerg Med. 2022;15(1):16.
  8. Arabshahi-Delouee S, Aalami M, Urooj A, Krishnakantha TP. Moringa oleifera leaves as an inhibitor of human platelet aggregation. Pharmaceutical Biology. 2009;47(8):734-9.
  9. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. รายการตำรับยาแผนไทยแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2564.
  10. Temeesak N, Kheokasem N, Phatcharawongsagorn N, Nontakulwiwat P, Boonmuang P, Santimaleeworagun W, et al. The effects of herbs or dietary supplements on international normalized ratio in warfarin users: A retrospective study at Phramongkutklao hospital. Thai Pharm Health Sci J. 2015;10(4):139-46.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 449480