อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

ซิงค์ (zinc) หรือ ธาตุสังกะสี

ชื่อสมุนไพร

ซิงค์ (zinc) หรือ ธาตุสังกะสี

ชื่อวิทยาศาสตร์

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • สำหรับเสริมอาหารในผู้ที่ขาดซิงค์ เช่น ผู้สูงอายุที่รับประทานอาหารได้น้อย, หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร เพราะร่างกายต้องซิงค์มากกว่าคนทั่วไป, ผู้ที่ติดแอลกอฮอล์
    • ขนาดที่แนะนำของ elemental zinc เท่ากับ 1-2 มก./น้ำหนักตัว (กก.)/วัน เป็นเวลา 4-6 สัปดาห์
  • งานวิจัยในผู้ที่อ้วน จำนวน 40 คน ได้รับซิงค์ขนาด 30 มก.ต่อวัน ร่วมกับการควบคุมอาหาร เป็นเวลา 15 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ใช้และไม่ใช้ซิงค์ให้ผลลดน้ำหนักตัวและดัชนีมวลกาย (BMI) ไม่แตกต่างกัน คือ ไม่ได้ผลในการลดน้ำหนักตัว

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 16 การศึกษาในผู้ที่มีสุขภาพดี จำนวน 1,387 คน พบว่า การรับประทานซิงค์รูปแบบยาอม ขนาดอย่างน้อย 75 มก.ต่อวัน ภายใน 24 ชม. เมื่อเริ่มเป็นหวัด (common cold) จะช่วยลดจำนวนวันที่เป็นหวัดได้ 1 วัน แต่ไม่ลดความรุนแรงของโรค

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 28 การศึกษาในผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ จำนวน 5,446 คน พบว่า

            ผู้สูงอายุ รับประทานซิงค์แคปซูล ขนาด 45 มก.ต่อวัน ลดการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ซิงค์

                      *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้

            ยาอมซิงค์ป้องกันการเป็นหวัดไม่ได้

                      *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 6 การศึกษาในเด็กอายุไม่เกิน 5 ปี จำนวน 5,193 คน รับประทานซิงค์ ขนาด 10 มก.ต่อวัน เป็นเวลาอย่างน้อย 4 เดือน พบว่าอาจช่วยลดการเกิดปอดบวมได้

           *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัยในผู้ป่วยโควิด จำนวน 445,850 คน ที่รายงานการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารด้วยตนเอง พบว่า ผู้ที่ใช้ซิงค์และไม่ใช้ มีความเสี่ยงการติดเชื้อโควิดไม่แตกต่างกัน

            *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ป่วยโควิด จำนวน 214 คน ได้รับซิงค์ (zinc gluconate) ขนาด 50 มก.ต่อวัน หรือวิตามินซี ขนาด 8,000 มก.ต่อวัน หรือใช้ร่วมกัน เทียบกับการรักษามาตรฐาน พบว่าทั้งกลุ่มที่ได้เกลือแร่หรือวิตามินเดี่ยว ๆ หรือได้ร่วมกัน ลดระยะเวลาที่มีอาการโควิดได้ไม่แตกต่างจากการรักษามาตรฐาน

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • แนวทางการรักษาจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุของอเมริกาและอังกฤษ พ.ศ. 2561 และ 2562 สรุปว่า การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของซิงค์ ไม่ช่วยชะลอจอประสาทตาเสื่อมในระยะเริ่มต้นถึงปานกลาง สำหรับผู้ที่เป็นจอประสาทตาเสื่อมระยะท้าย งานวิจัยยังมีคนจำนวนไม่พอที่จะสรุปได้ จึงยังไม่แนะนำให้ใช้
  • งานวิจัยในผู้ที่ผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) จากการขาดซิงค์ 15 คน รับประทานซิงค์ ขนาด 50 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 60 อาการดีขึ้น ผู้ป่วยที่เหลืออาการดีขึ้นน้อยหรือไม่ตอบสนอง แม้ว่าผู้ป่วยทั้งหมดมีระดับซิงค์ในเลือดเพิ่มขึ้น

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Khorsandi H, Nikpayam O, Yousefi R, Parandoosh M, Hosseinzadeh N, Saidpour A, et al. Zinc supplementation improves body weight management, inflammatory biomarkers and insulin resistance in individuals with obesity: a randomized, placebo-controlled, double-blind trial. Diabetol Metab Syndr. 2019;11:101.
  2. Khan KNM, Hard GC, Alden CL. Chapter 47 - Kidney. In: Haschek WM, Rousseaux CG, Wallig MA, editors. Haschek and Rousseaux's Handbook of Toxicologic Pathology (Third Edition). Boston: Academic Press; 2013. p. 1667-773
  3. Ufelle AC, Barchowsky A. Toxic Effects of Metals. In: Klaassen CD, editor. Casarett & Doull’s Toxicology: The Basic Science of Poisons, 9th edition. New York, NY: McGraw-Hill Education; 2019.
  4. Lexicomp® Drug Interactions
  5. Arentz S, Hunter J, Yang G, Goldenberg J, Beardsley J, Myers SP, et al. Zinc for the prevention and treatment of SARS-CoV-2 and other acute viral respiratory infections: a rapid review. Adv Integr Med. 2020;7(4):252-260.
  6. Park H, Kim CW, Kim SS, Park CW. The therapeutic effect and the changed serum zinc level after zinc supplementation in alopecia areata patients who had a low serum zinc level. Ann Dermatol. 2009;21(2):142-6.
  7. Singh M, Das RR. Zinc for the common cold. Cochrane Database Syst Rev. 2013;18(6):CD001364.
  8. Thomas S, Patel D, Bittel B, Wolski K, Wang Q, Kumar A, et al. Effect of high-dose zinc and ascorbic acid supplementation vs usual care on symptom length and reduction among ambulatory patients with SARS-CoV-2 infection: The COVID A to Z randomized clinical trial. JAMA Netw Open. 2021;4(2):e210369.
  9. Lassi ZS, Moin A, Bhutta ZA. Zinc supplementation for the prevention of pneumonia in children aged 2 months to 59 months. Cochrane Database of Systematic Reviews. 2016;12(12):CD005978.
  10. Kim B, Kim Hee Y, Yoon Bo R, Yeo J, In Jung J, Yu K-S, et al. Cytoplasmic zinc promotes IL-1β production by monocytes and macrophages through mTORC1-induced glycolysis in rheumatoid arthritis. Science Signaling. 2022;15(716):eabi7400.
  11. Louca P, Murray B, Klaser K, Graham MS, Mazidi M, Leeming ER, et al. Modest effects of dietary supplements during the COVID-19 pandemic: insights from 445 850 users of the COVID-19 Symptom Study app. BMJ Nutr Prev Health. 2021;4(1):149.
  12. Hunter J, Arentz S, Goldenberg J, Yang G, Beardsley J, Myers SP, et al. Zinc for the prevention or treatment of acute viral respiratory tract infections in adults: a rapid systematic review and meta-analysis of randomised controlled trials. BMJ Open. 2021;11(11):e047474.
  13. Burns EK, Perez-Sanchez A, Katta R. Risks of Skin, Hair, and Nail Supplements. Dermatol Pract Concept. 2020;10(4):e2020089.
  14. UpToDate 2025
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 449479