อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

โพรไบโอติก (probiotics)

ชื่อสมุนไพร

โพรไบโอติก (probiotics)

ชื่อวิทยาศาสตร์

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์
  • งานวิจัย 63 การศึกษาในเด็กและผู้ใหญ่ที่มีอาการท้องเสีย พบว่า โพรไบโอติกสายพันธุ์ Lactobacillus GG และ S. boulardii ช่วยทำให้หายเร็วขึ้น

           *สูง, แนะนำให้ใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัยมากกว่า 20 การศึกษาในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน มากกว่า 1,000 คน พบว่า โพรไบโอติกยังให้ผลไม่แน่นอน  บางการศึกษาลดน้ำหนักตัวได้ บางการศึกษาลดไม่ได้

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ป่วยโควิด จำนวน 445,850 คน ที่รายงานการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารด้วยตนเอง พบว่า ผู้ที่ใช้โพรไบโอติก ลดความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด

           *ปานกลาง, อาจใช้ร่วมกับมาตรการป้องกันโควิดอื่น ๆ

  • งานวิจัยในผู้ป่วยวัยกลางคนเป็นโควิดรุนแรงน้อยและมีน้ำหนักตัวเกิน จำนวน 300 คน รับประทานโพรไบโอติก 4 สายพันธุ์ คือ Lactiplantibacillus plantarum KABP033, KABP022, KABP023 และ Pediococcus acidilactici KABP021 ในสัดส่วน 3:1:1:1 รับประทานวันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหาร เป็นเวลา 1 เดือน ร่วมกับการใช้ยาพาราเซตามอลบรรเทาอาการไข้ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่รับประทานโพรไบโอติกมีสัดส่วนการหายจากโรคโควิดภายในวันที่ 30 วันมากกว่า มีปริมาณเชื้อโควิดในโพรงจมูกน้อยกว่า และภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิดมากกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก

           *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัย 10 การศึกษาในผู้หญิงที่ติดเชื้อราในช่องคลอด จำนวน 1,656 คน ใช้โพรไบโอติก Lactobacillus spp. รูปแบบรับประทานหรือใช้ภายในช่องคลอด ขนาด 10 ยกกำลัง 9 - 10 ยกกำลัง 11 colony-forming units ร่วมกับยาฆ่าเชื้อรา เป็นเวลา 14 วัน พบว่า ทำให้หายเร็วขึ้น แต่เมื่อใช้เป็นเวลา 1 เดือน ให้ผลไม่แตกต่างระหว่างผู้ที่ใช้และไม่ได้ใช้โพรไบโอติก

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 5 การศึกษาในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ผู้ที่มีความจำและการคิดวิเคราะห์บกพร่องเล็กน้อย (mild cognitive impairment) หรือพาร์กินสันจำนวน 342 คน รับประทานโพรไบโอติก สายพันธุ์ Lactiplantibacillus spp. และ Bifidobacterium spp. เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า ช่วยเพิ่มความสามารถด้านความจำและการคิดวิเคราะห์ (cognitive function)

           *ปานกลางถึงสูง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • ยังไม่มีงานวิจัยคนยืนยันผลว่าช่วยป้องกันหรือชะลอความรุนแรงของโรคอัลไซเมอร์ได้

           *ต่ำ, ยังไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Borgeraas H, Johnson LK, Skattebu J, Hertel JK, Hjelmesaeth J. Effects of probiotics on body weight, body mass index, fat mass and fat percentage in subjects with overweight or obesity: a systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Obes Rev. 2018;19(2):219-32.
  2. Suzumura EA, Bersch-Ferreira  C, Torreglosa CR, da Silva JT, Coqueiro AY, Kuntz MGF, et al. Effects of oral supplementation with probiotics or synbiotics in overweight and obese adults: a systematic review and meta-analyses of randomized trials. Nutr Rev. 2019;77(6):430-50.
  3. Hadi A, Alizadeh K, Hajianfar H, Mohammadi H, Miraghajani M. Efficacy of synbiotic supplementation in obesity treatment: A systematic review and meta-analysis of clinical trials. Crit Rev Food Sci Nutr. 2020;60(4):584-96.
  4. UpToDate(R). Probiotics for gastrointestinal diseases. 2020 [cited 2020 September 8th]; Available from: https://www.uptodate.com.
  5. Shirvani-Rad S, Tabatabaei-Malazy O, Mohseni S, Hasani-Ranjbar S, Soroush A-R, Hoseini-Tavassol Z, et al. Probiotics as a complementary therapy for management of obesity: A systematic review. Evid Based Complement Alternat Med. 2021;2021:6688450.
  6. Xie HY, Feng D, Wei DM, Mei L, Chen H, Wang X, et al. Probiotics for vulvovaginal candidiasis in non-pregnant women. Cochrane Database Syst Rev. 2017;11(11):CD010496.
  7. Louca P, Murray B, Klaser K, Graham MS, Mazidi M, Leeming ER, et al. Modest effects of dietary supplements during the COVID-19 pandemic: insights from 445 850 users of the COVID-19 Symptom Study app. BMJ Nutr Prev Health. 2021;4(1):149.
  8. Gutiérrez-Castrellón P, Gandara-Martí T, Abreu Y Abreu AT, Nieto-Rufino CD, López-Orduña E, Jiménez-Escobar I, et al. Probiotic improves symptomatic and viral clearance in Covid19 outpatients: a randomized, quadruple-blinded, placebo-controlled trial. Gut Microbes. 2022;14(1):2018899.
  9. Xiang S, Ji J-L, Li S, Cao X-P, Xu W, Tan L, et al. Efficacy and safety of probiotics for the treatment of Alzheimer's disease, mild cognitive impairment, and Parkinson's disease: A systematic review and meta-analysis. Front Aging Neurosci. 2022;14:730036.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 449479